วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีดำเนินการ


อุปกรณ์ / เครื่องมือ
                1.  มุ้งอย่างหนาสีฟ้า ( กว้าง 1. 50 ม.  *  30 ม. )
                2.  กะละมังใส่น้ำ
                3.  ถาดอาหาร
                4.  กระเบื้อง
                5.  เสาไม้   6  ต้น
                6.  ตะปู
                7.  ไม้ไผ่
                8.  แสลมสีดำ
                9. หลอดไฟล่อแมลง

การเลือกสถานที่ที่จะสร้างโรงเรือนกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ
                 1.  ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรู
                 2.  
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                3.  
พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างโรงเรือนและแอ่งน้ำในโรงเรือน
                4.  
ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
                5.  
สถานที่ต้องห่างจากเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว

โรงเรือนเลี้ยงกบ
                จะทำบ่อเลี้ยงกบ จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมากโดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้หรือเหมือนสัตว์อื่น ๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าบ่อเลี้ยงหรือโรงเรือนเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืนนกกลางคืนโดยเฉพาะนกเค้าแมวสามารถลงไปอยู่ปะปนและจับกบกินอย่างง่ายดาย แมวนับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินก็เพียงตัวเดียวแล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันก็ยังจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่นและ ทำให้กบตายในที่สุด

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
             กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง   4-5  เดือน  จะได้กบขนาด 4-5 ตัว / กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร  3.4 กก.  ได้เนื้อกบ  1 กก.  ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็น  ได้ชัดก็คือ กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้างในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียง  จะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือ   มีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย ถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย

การให้อาหารกบ
                1.  การให้อาหารวันละ  2  ครั้ง  ตอนเช้า  07.00  น.  และตอนเย็น  17.00  น. 
2.  ปริมาณการให้อาหาร  ในอัตรา  10  % ของน้ำหนักตัว
3.  อาหารที่ให้เป็นอาหารปลาดุก

การดูแลรักษา
 นอกจากจะเอาใจใส่ในเรื่องการให้อาหาร  การรักษาความสะอาดภาชนะ   ที่ให้อาหารดังกล่าวแล้ว  ในการเลี้ยงกบจะต้องคำนึงถึงความสะอาด  โดยเฉพาะในแอ่งน้ำหรือการเลี้ยงกบในโรงเรือน   ต้องมีการขัดล้างถ่ายเทน้ำในบางครั้งทั้งนี้ถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดี  ความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของกบก็ดี   ลดอัตราการเป็นโรคพยาธิเบียดเบียน  แต่กบเป็นสัตว์ที่ตื่น  และตกใจง่าย  ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจดังกล่าวกบจะเกิดอาการชัก  เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้   หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อ   และจะเกิดอาการกระทบกระแทก  เป็นแผลฟกช้ำจุกแน่นจุกเสียด  เมื่อเป็นมากๆก็มีโอการถึงตายได้เช่นกัน 
ดังนั้น  การทำความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบ  จึงต้องระมัดระวังในเรื่องการงดอาหารกบ  เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจเนื่องจากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย  โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก